วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปลาหมึกยักษ์


10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปลาหมึกยักษ์

1. วิวัฒนาการ

หมึกยักษ์กลุ่มแรกนั้นได้เริ่มวิวัฒนาการขึ้นมาเมื่อช่วงปลายยุคครีเตเชียส (ยุคสุดท้ายของไดโนเสาร์) ในขณะนั้น พวกมันยาวแค่ 8 ซม.เท่านั้น ในปัจจุบันหมึกยักษ์นั้นแบ่งออกเป็น 289 สปีชีส์ซึ่งนับเป็นจำนวน 1/3 ของเซฟาโลพอดทั้งหมด

2. อาหารการกิน

หมึกยักษ์คือสัตว์สันโดษหวงถิ่นที่เป็นนักล่าอันว่องไว พวกมันกินปูและล๊อบส์เตอร์, หอย, หมึกสาย, หมึกกระดอง, และในบางครั้งก็ปลา รวมถึงฉลามเป็นอาหาร ซึ่งมันจะไม่กินส่วนแข็งๆ เจ้านี่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่กินอะไรเลยเป็นเวลานาน 6 เดือน หมึกยักษ์นั้นจะตื่นตัวในช่วงพลบค่ำและจะกลบซ่อนตัวอยู่ตามรูที่ถูกปิดด้วยหินในตอนกลางวัน พวกมันใช้เวลาย่อยอาหารนาน 12 ชม

3. ศัตรูตัวร้าย

ศัตรูของหมึกยักษ์ได้แก่วาฬเสปริ์ม, แมวน้ำ, ปลาไหลคองเกอร์, ปลาไหลมอเรย์, และนกทะเล

4. แปลงร่างอย่างเทพ

หมึกยักษ์มีความสามารถในการเลียนแบบที่เทพกว่ากิ้งก่าคามิลเลี่ยนซะอีก โดยพวกมันมีเซลล์เม็ดสี (เหลือง, ส้ม, แดง, น้ำตาล, หรือดำ) เรียกว่าโครมาโทฟอร์จำนวน 1-2 ล้านเซลล์ซึ่งถูกสั่งการโดยระบบประสาท เมื่อเจ้าหมึกยักษ์บีบโครมาโทฟอร์สีก็จะหายไป เมื่อพวกมันยืดโครมาโทฟอร์สีก็จะโผล่ออกมา นอกจากนี้ยังมีลูโคฟอร์ก็คือจุดขาวๆ บนผิวหนังและไอริโดฟอร์ก็คือสิ่งที่จะสะท้อนแสงและทำให้หมึกยักษ์ระยิบระยับ ซึ่งพวกตัวเต็มวัยนี้สามารถใช้ในการแสดงความดุร้าย นอกจากการเลียนสี หมึกยักษ์ก็สามารถเลียนแบบรูปร่างได้อีกด้วย

5. ฉลาดจริงนะ

หมึกยักษ์คือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ฉลาดที่สุดในโลก สมองของพวกมันมีเซลล์ประสาทขนาดใหญ่ถึง 500 ล้านเซลล์ (คนมี 1 แสนล้าน) ความฉลาดของหมึกยักษ์นั้นพอๆ กับแอพเลยทีเดียว โดยพวกมันสามารถเปิดขวดเพื่อเอารางวัลข้างในได้โดยการคิดวิธีขึ้นมาเอง หมึกยักษ์ก็คือสัตว์ประเภทเดียวที่รู้จัก “เล่นสนุก” แต่อย่างไรก็ตาม เพราะหมึกยักษ์นั้นสามารถมีชีวิตอยู่นานแค่ 3-5 ปีเท่านั้น พวกมันจึงมีเวลาจำกัดในการสะสมความรู้ นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่าถ้าเจ้านี่อยู่นานกว่านี้พวกมันอาจจะเป็นสัตว์ที่กำลังครอบครองโลกอยู่ในขณะนี้แทนที่จะเป็นมนุษย์ก็ได้

6. รู้หลบหลีก

หมึกยักษ์สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้เพื่อหลบหลีกกับดัก โดยสิ่งที่แข็งที่สุดในตัวของพวกมันก็คือกะโหลกที่ทำมาจากกระดูกอ่อน เพราะฉะนั้นถ้ารูหนึ่งๆพอดีกับหัวของหมึกยักษ์แล้ว พวกมันก็จะหลบหนีออกมาได้อย่างง่ายดาย ซึ่งนี่ก็ได้ทำปัญหามากกับพวกที่อยู่ในอควอเรี่ยม

7. ตาบอดสี

ลูกตาของหมึกยักษ์นั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุดในหมู่สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งรูปร่างลักษณะและความสามารถนั้นใกล้เคียงกับสัตว์มีกระดูกสันหลัง แต่อย่างไรก็ตามเจ้านี่ก็ไม่สามารถมองเห็นสีได้

8. หลายใจ

ใจเย็นๆ เราไม่ได้หมายความว่ามันจะเจ้าชู้นะ แค่จะบอกว่าหมึกยักษ์มีหัวใจ 3 หัวใจ แต่ระบบหัวใจของพวกมันนั้นไม่มีประสิทธิภาพซึ่งทำให้พวกมันอายุขัยสั้น นอกจากนั้น หมึกยักษ์ก็ยังมีเลือดสีน้ำเงินที่ประกอบไปด้วยฮีโมไซยานิน (ของคนคือฮีโมโกลบิน)

9. สถิติ

หมึกยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดนั้นก็คือหมึกยักษ์ใหญ่แปซิฟิก ที่ยาว 3 เมตรและหนัก 15 กก. (เฉลี่ย) แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าตัวที่โดนจับได้ที่หาดของบริติช โคลัมเบีย ประเทศแคนาดาเมื่อปี 1957 นั้นมีความยาวถึง 10 เมตรและหนัก 272 กก.

10. จำกลิ่นกันและกัน

คู่หมึกยักษ์นั้นจำกันได้จากกลิ่นและสัมผัส อวัยวะเพศของหมึกยักษ์ตัวผู้ก็คือหนวดเส้นที่ 3 นับจากทางขวาเรียกว่าเฮ็กโตโคไทลัสซึ่งสามารถหลุดออกมาได้ การผสมพันธุ์ของพวกมันยาวนาน 2 ชม.แต่หลายครั้ง โดยตัวผู้นั้นจะสอดใส่เฮ็กโตโคไทลัสไปในร่างกายของตัวเมียและปล่อยเสปิร์มาโทฟอร์ (ถุงเสปริ์ม) หลังจากการผสมพันธุ์ อวัยวะสืบพันธุ์นั้นก็จะหลุดออกและงอกขึ้นมาใหม่ในฤดูผสมพันธุ์ถัดไป แต่อย่างไรก็ตามหมึกยักษ์นั้นมักจะผสมพันธุ์แค่ครั้งเดียวในชีวิต ตัวเมียนั้นจะวางไข่ 100-500,00 ฟองเป็นกลุ่มสายยาว 10 ซม. (แต่ละกลุ่มสายประกอบไปด้วยไข่ 2,000-3,000 ฟอง)

ปลาไหลไฟฟ้า

ทำไม ปลาไหลไฟฟ้า ถึงปล่อยไฟฟ้าได้?


     เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ทำไม ปลาไหลไฟฟ้าถึง ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้?
ปลาไหลไฟฟ้า หรือในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Electric eel  เป็นปลาขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาไหล แต่มันกลับไม่ได้เป็นญาติกับปลาไหลเลย!!!  แต่มันจัดอยู่ในกลุ่มของ Electrophoridae ซึ่งเป็น ปลาชนิดเดียวในวงศ์นี้  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Electrophorus electricus  ในขณะที่ปลาไหล ที่เรารู้จักจะอยู่ในกลุ่ม Anguilliformes 




   ถิ่นกำเนิดของ ปลาไหลไฟฟ้า
ในธรรมชาติ พบได้เฉพาะ ทวีปอเมริกาใต้  ในลุ่มน้ำอเมซอน เท่านั้น  และ เป็นปลาน้ำจืดสนิท ไม่ใช่ปลาทะเล เพราะมีบางคน คิดว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาทะเล ชอบอยู่ในบึงตื้นๆ น้ำนิ่ง และมีพืชน้ำ หรือ รากไม้หนาแน่น

   แล้ว ปลาไหลไฟฟ้า  ปล่อยกระแสไฟฟ้าได้อย่างไร?
ที่มาของชื่อ และ ชื่อเสียงของ ปลาไหลไฟฟ้า ก็มาจากความสามารถในการ ปล่อยกระแสไฟฟ้า ของมัน โดยปลาไหลไฟฟ้าจะปล่อยกระแสไฟฟ้าได้มากถึง 800 โวลล์  แต่จะเป็นปลาที่โตเต็มที่เท่านั้นจึงจะสามารถปล่อยกระแสไฟได้มากขนาดนี้ โดยตัวโตเต็มวัยอาจมีขนาดประมาณ 2  เมตร  ในขณะที่ลูกปลา หรือ ปลาที่มีอายุน้อย จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปริมาณที่น้อย คือไม่เกิน 100 โวลล์
ปลาไหลไฟฟ้า ผลิตกระแสไฟฟ้า ได้โดย เซลล์ผลิตกระแสไฟฟ้า ที่อยู่ในอวัยวะที่ใช้สำหรับสร้างกระแสไฟฟ้า และมันสามารถควบคุมเซลล์เหล่านี้ให้ทำงานพร้อมกันได้  ระบบเซลล์นี้มี นิวเคลียส ที่คอยรับคำสั่ง ว่าเมื่อไหร่ที่อวัยวะผลิตกระแสไฟฟ้า จะสร้างกระแสไฟฟ้าขึ้นมา โดยเซลล์ผลิตไฟฟ้า จะหลั่งสารที่เรียกว่า อะซีตินคอลีน ซึ่งช่วยในการสร้าง เส้นทางชั่วคราว ที่มีการต้านทานไฟฟ้าต่ำขึ้นมา โดยกระแสไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ ใช้ในการป้องกันตัว และ หาอาหาร เท่านั้น



   นอกจาก ปลาไหลไฟฟ้าแล้ว มีปลาชนิดอื่นที่สามารถสร้างสระแสไฟฟ้า ได้อีกหรือไม่?
คำตอบก็คือ  มี   เพราะนอกจากปลาไหลไฟฟ้าแล้วยังมีปลาชนิดอื่น ที่มีความสามารถนี้เช่นกัน
เช่น ปลาดุกไฟฟ้า , กระเบนไฟฟ้า , ปลาในกลุ่ม knifefish และ ปลาในกลุ่ม Mormyridae


ปลาดุกไฟฟ้า
สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 100 - 600 โวลล์ โดยขึ้นอยู่กับขนาดของปลา และ ชนิดของปลา โดยปลาดุกไฟฟ้า อาศัยอยู่ใน แม่น้ำไนล์ ในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ มีประมาณ 20 ชนิด ผลิตไฟฟ้าด้วยหลักการณ์ และ เหตุผลเดียว กับ ปลาไหลไฟฟ้า คือ เพื่อป้องกันตัว และ ล่าเหยื่อ

 ปลาดุกไฟฟ้า
กระเบนไฟฟ้า
กระเบนไฟฟ้า เป็นปลาทะเล โดยมีทั้งหมดประมาณ 69 ชนิด โดยทั้งหมด เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล อาศัยอยู่ใน มหาสมุทรแอตแลนติก , มหาสมุทรอินเดีย และ มหาสมุทรแปซิฟิก โดยในประเทศไทยพบทั้งหมด 2 ชนิด คือ ปลากระเบนไฟฟ้าหลังเรียบ และ กระเบนไฟฟ้าสีน้ำตาล สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 200 โวลล์ ผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อล่าเหยื่อ


กระเบนไฟฟ้าสีน้ำตาล


กระเบนไฟฟ้าหลังเรียบ

ปลาในกลุ่ม knifefish และ ปลาในกลุ่ม Mormyridae

ปลาในกลุ่มทั้งสองนี้ เป็นปลากระแสไฟฟ้าอ่อน คือ ผลิตไฟฟ้าโวลล์ต่ำ เพื่ออาหารเท่านั้น  กระแสไฟฟ้าใช้ในการนำทาง และ บอกตำแหน่งของอาหาร

ปลางวงช้าง เป็นปลาในกลุ่ม Mormyridae ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาแปลก สำหรับนักเลี้ยงปลาแปลก สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ได้


ปลา aba aba  จัดอยู่ในกลุ่มปลา knifefish


ปลา Black Ghost เป็นปลากลุ่ม knifefish  ที่มีขายในตลาดปลาบ้านเราอย่างแพร่หลาย



ปลาไหลไฟฟ้า เป็นปลาที่ใครหลายคนคุ้นชื่อกันดี เพราะเคยได้ยินอยู่บ่อยๆ แต่หลายคนก็ยังไม่ทราบกันดีว่าปลาไหลไฟฟ้านั้นสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้ามาดูดหรือทำร้ายศัตรูได้จริงหรือไม่? แล้วปลาไหลไฟฟ้าจะมีพิษภัยอันตรายแค่ไหน? อีกทั้งปลาไหลไฟฟ้าสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาได้อย่างไร?

ภาษาพื้นเมืองอะเมซอนเรียกปลาไหลไฟฟ้าว่า ไมค่า ซึ่งปลาไหลไฟฟ้าบริเวณลุ่มน้ำอะเมซอนจะมีความยาวถึง 2 เมตร กระแสไฟฟ้าที่มันปล่อยออกมามีความแรงถึง 650-850 โวลต์ ถือว่าเป็นกระแสไฟฟ้าที่แรงที่สุดที่สัตว์สามารถสร้างได้ อีกทั้งยังสามารถซ๊อตม้าที่ตัวโตเต็มวัยให้ตายได้ และถ้าเราจับปลาไหลไฟฟ้า เราต้องเอาท่อนไม้ทุบที่ผิวน้ำอย่างแรงๆ ต่อเนื่องกัน ทำให้ปลาไหลคิดว่ามีศัตรู จึงปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาหมด แล้วจึงค่อยทอดแหจับมันขึ้นมา
ปลาไหลไฟฟ้า เกิดกระแสไฟฟ้าได้อย่างไร? เนื่องจากปลาไหลไฟฟ้ามีอวัยวะอยู่ที่บริเวณภายในหัว ส่วนที่เหลือของลำตัวโดยเฉพาะบริเวณหาง จะมีอวัยวะพิเศษที่ถูกพัฒนามาจากกล้ามเนื้อ ในอวัยวะนี้จะมีเซลล์คล้ายกับจานที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ร่างกายของปลาไหลไฟฟ้าเหมือนกับแบตเตอรี่ การซ็อตของปลาไหลไฟฟ้าหลายๆ ครั้งอาจจะทำให้มนุษย์ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถ้าปลาไหลไฟฟ้ามีอายุมากขึ้น ยิ่งทำให้มันผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้นด้วย
เพราะฉะนั้นการที่เราจะไปจับปลาไหลไฟฟ้าโดยที่ไม่มีความรู้อาจจะทำให้ถูกกระแสไฟฟ้าจากตัวปลาไหลไฟฟ้าซ็อตได้ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายแต่อย่างใด เราจึงควรมีวิธีหรือเคล็ดลับในการจับปลาไหลไฟฟ้ามาเสียก่อน มิเช่นนั้นจะเกิดอันตราย อีกทั้งพิษของกระแสไฟฟ้าของปลาไหล สามารถทำให้เราเสียชีวิตได้